Connect with us

ข่าวเด่น

ผ่านฉลุยไร้แรงต้าน!! เวทีประชาคมเตรียมจัดตั้งโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมที่ อำเภอศรีราชา ชาวบ้านพอใจฯ..

ชลบุรีโพสต์ออนไลน์ (www.chonburipostonline.com)
โดยทีมข่าว “ โต บางแค ” โทร. 089 931 2068

ผ่านฉลุยไร้ต้าน!! เวทีประชาคมเตรียมจัดตั้งโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ผู้แทนชาวบ้านกว่า 300 คนใน 6 ตำบล 2 จังหวัด ทั้ง ชลบุรี-ระยอง ผู้มีส่วนได้เสียร่วมฟังการนำเสนอการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบ ชาวบ้านต่างพึงพอใจในระบบที่ทันสมัย

            วันนี้ (28 ธ.ค.66)​ บริษัท พาวเวอร์ วัตต์ 1 จำกัด (เจ้าของโครงการ)​ได้มอบหมายให้ บริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอซเอ ซลบุรี 1 ในเขตการปกครองของเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่มีพื้นที่ศึกษารัศมี 3 กิโลเมตร จากขอบเขตพื้นที่โครงการครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และ ต.มาบยางพร อ.ปลวกแดง จ.ระยอง

ได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความเห็นและทำความเข้าใจกับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในโครงการดังกล่าว ที่ห้องประชุมเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและนำเสนอผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ (ร่าง) มาตรการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยมี  นายอาคมเจตน์ พันเฉลิมชัยโชค นายกเทศมนตรี เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ พร้อมด้วย น.ส.นริศรา ทิพยางกูร  ปลัดอาวุโสอำเภอศรีราชา กำนัน-ผู้ใหญ่ ผู้นำชุมชุม และกลุ่มตัวแทนภาคประชาชนในพื้นที่หมู่ 3-4-5-6และ8 ต.บ่อวิน และพื้นที่ ม. 4 ต.มาบยางพร อ.ปลวกแดง จ.ระยอง เข้าร่วมกว่า 300 คน

            ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการจัดประชุมรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการเตรียมจัดตั้งโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม ของ บริษัท พาวเวอร์วัตต์ 1 จำกัด ไร้ซึ่งการคัดค้านและต่อต้านจากกลุ่มประชาชนในพื้นที่ แม้ทางเทศบาลฯ จะได้ขอความร่วมมือไปยัง สภ.หนองขาม เพื่อให้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าดูแลความเรียบร้อยจำนวนหลายสิบนาย แต่ก็ไม่ปรากฎ​ว่ามีเหตุการณ์รุนแรงเหมือนกับ 2 เวทีประชาคมซึ่งจัดขึ้นที่ จ.ระยอง และปราจีนบุรี แต่อย่างใด

            สำหรับโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมแห่งนี้ มีการใช้เชื้อเพลิงจากขยะอุตสาหกรรมที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นขยะ แต่เป็นเพียงเศษวัสดุที่เหลือใช้จากการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม เช่น เศษกระดาษ เศษไม้ เศษผ้า เศษยาง เศษหนังและพลาสติก ซึ่งไม่ใช่ขยะพิษเป็นเชื้อเพลิง โดยมีกระบวนผลิต SRF (Solid Recovered Fuel) กล่าวคือ มีการคัดแยกขยะหรือเศษวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เข้ากระบวนการสับหรือตัดให้ละเอียดก่อนอัดก้อนในขบวนการผลิต SRF ที่ควบคุมความชื้นไม่เกิน 20% จึงง่ายต่อการเผาไหม้ในส่วนของเทคโนโลยีผลิตกระแสไฟฟ้า

            โดยใช้ระบบความร้อนด้วยการเผาไหม้ นำความร้อนที่ได้ไปต้มน้ำ เพื่อนำไอน้ำไปกำหนิดกระแสไฟฟ้า โดยใช้วิธีแบบตะกรับเคลื่อนที่หรือ Step Grate ซึ่งจะให้ความร้อน 850-1,100 องศา °C ทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ ไม่เกิดควันหรือคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถควบคุมการเกิดสารไดออกซิน (Dioxin) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ได้ กระบวนการผลิตของโรงไฟฟ้าแห่งนี้ มีการควบคุมทุกขั้นตอน โดยเฉพาะเผาไหม้ที่ใช้อุณหภูมิที่สูง ทำให้เกิดการเผาไหม้สมบูรณ์ไม่มีควัน             และโรงงานไฟฟ้าแห่งนี้ ยังใช้ระบบเทคโนโลยีควบคุมมลสารหรือมลพิษทางอากาศไว้ทุกขั้นตอนและมีการติดตั้งระบบ CEMs เพื่อตรวจวัดปริมาณมลพิษทางอากาศ 24 ชม.ซึ่งมีอยู่ 2 จุดคือ บริเวณหน้าโรงไฟฟ้าและที่สำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมนครหลวง จึงกล้ายืนยันได้ว่า กระบวนการผลิตดังกล่าว ยังสามารถควบคุมมลสารทางอากาศได้เช่น ค่า Nox,SOx,TSP,HCI และไดออกซิน ตามที่กฎหมายกำหนด

            และยังที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า เป็นน้ำประปาจากนิคมฯ โดยจะมีการใช้น้ำ 1,000 ลบ.ม.ต่อวัน หลังจากผ่านกระบวนการต้มและนำไอน้ำไปปั่นกังหันกำเนิดไฟฟ้า (Turbine Generator) และส่งต่อไปยัง หม้อแปลงไฟฟ้า (Electrical transformer) เพื่อผลิตไฟฟ้า น้ำที่เหลือจากกระบวนการผลิต จะถูกนำไปใช้หมุนเวียนในระบบต่อไป ซึ่งจะไม่มีการปล่อยน้ำที่ผ่านระบบออกสู่นอกโรงงานไฟฟ้า ส่วนเถ้าที่เกิดจากการเผาไหม้ ทางบริษัทฯ จะนำไปกำจัดยังหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตตามที่กฎหมายกำหนด

            โรงไฟฟ้าให้แห่งนี้ยังใช้วัสดุเชื้อเพลิงต่อวันประมาณ 200 ตัน มีการเดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งใน 1ปีจะหยุดเพียง 3 ครั้งเพื่อตรวจเช็คและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ โดยนฃมีกำลังผลิตไฟฟ้า 7 เมกกะวัตต์ แบ่งขายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 5.5 เมกกะวัตต์ ที่เหลือไว้ใช้ภายในโรงงาน   ส่วนประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับจากโรงไฟฟ้าคือ การเพิ่มอัตราการจ้างงาน สร้างรายได้ในกับชุมชนและสร้างความเจริญให้กับคนในพื้นที่กว่า 80% และยังเสียภาษีบำรงพื้นที่ โดยเฉพาะภาษีโรงเรือนให้กับท้องถิ่นได้พัฒนาพื้นที่ของตนเอง และที่สำคัญยังมีกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโดยทางบริษัทฯบริจาคให้ปีละ 600,000 บาทหรือ (ตามกฎหมายกำหนด) ถือเป็นการคืนกำไรให้กับพื้นที่

            ปัจจุบันบริษัท พาวเวอร์ วัตต์ 1 จำกัด มีโรงไฟฟ้าอยู่ในเครือ 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าใน จ.พระนครศรีอยุธยา, โรงไฟฟ้าที่ จ.สระบุรี และโรงไฟฟ้าที่ จ.พิจิตร สำหรับโครงการที่จะพัฒนาโรงไฟฟ้าแห่งที่ 4 ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.บ่อวิน จ.ชลบุรี

นายชูชาติ ภู่ทอง ประธานชุมชนนิคมฯบ่อวิน

            นายชูชาติ ภู่ทอง ประธานชุมชนนิคมฯบ่อวิน  เผยว่าการเตรียมจัดตั้งโรงไฟฟ้าขยะในพื้นที่เบื้องต้นลูกบ้านในชุมชนต่างมีความกังวลเรื่องผลกระทบ​ด้านสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อได้มีการประสานไปยังเจ้าของโครงงานเพื่อนำประชาชนเข้าเยี่ยมชมโรงงานที่ จ.พระนครศรีอยุธยา​ ก็คลายความกังวลลงไปได้มาก ซึ่งในครั้งแรกชาวบ้านคิดว่าเป็นการนำขยะครัวเรือนมาใช้ แต่แท้จริงนั้นเป็นการใช้ขยะจากเศษวัสดุต่างๆมาใช้จึงคลายความวิตกกังวลลงได้   และจากการรับฟังการชี้แจงกระบวนการผลิตในวันนี้ก็จะนำไปชี้แจงกับประชาชนบางส่วนที่ยังมีความกังวลอยู่ ซึ่งปัญหาขนะในเขตบ่อวิน วันนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆจากการขยายตัวของเมือง ซึ่งการมีโรงงานขยะอุตสาหกรรม​ในพื้นที่จะช่วยลดปริมาณขยะจากเศษวัสดุเหลือใช้

ต บางแค ………… รายงาน

Advertisement
Advertisement

Copyright © 2020 ChonburipostOnline.Office 150/12 Village No.2 Surasak, Sriracha, Chonburi, 20110, Tel. 089 931 2068, Fax 038 328 438 Powered Tro BangKrea.