Connect with us

เศรษฐกิจ

กรรมการบอร์ดการท่าเรือฯ เตรียมรื้อรูปแบบการบริหารจัดการท่าเรือแหลมฉบัง  ทั้งระยะสั้น และ ระยะยาว..

ชลบุรีโพสต์ออนไลน์ (www.chonburipostonline.com)
โดยทีมข่าว “ โต บางแค ” โทร. 089 931 2068

กรรมการบอร์ดการท่าเรือฯ เผยเตรียมรื้อรูปแบบการบริหารจัดการท่าเรือแหลมฉบัง  ทั้งระยะสั้น และ ระยาว หลังดำเนินการมานานกว่า 30 ปี  ตั้งเป้ามุ่งสู่การเป็นท่าเรือระดับโลก (World Class Port) ที่มีบริการด้านโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

วันนี้ (11 มี.ค.) ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์ กรรมการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นประธานการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอเชิงนโยบายร่วมกับ World Bank  พร้อมด้วย นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย  เรือโทยุทธนา โมกขาว ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง กรรมการการท่าเรือฯ ผู้บริหารการท่าเรือฯ ผู้แทน World Bank ผู้แทนผู้ประกอบการ และพนักงานการท่าเรือฯ ระหว่างวันที่ 10 -11 มี.ค.  ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี 

ชลบุรีโพสต์ออนไลน์  (www.chonburipostonline.com) 
โดยทีมข่าว “ โต บางแค ” โทร. 089 931 2068

            ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์   พนมยงค์  กรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาร่างข้อเสนอเชิงนโยบายร่วมกับ World Bank ในการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ประเด็นหลักของท่าเรือแหลมฉบัง คือการมุ่งสู่การเป็นท่าเรือระดับโลก (World Class Port) ที่มีบริการด้านโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน การประชุมครั้งนี้ได้มีการหารือ ออกความคิดเห็น ร่วมกันในการจัดสรรพื้นที่ ของท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาในอนาคต

            รวมทั้งวางกรอบแนวคิดด้านการจัดสรรทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยเฉพาะเรื่องของพื้นที่ ซึ่งท่าเรือแหลมฉบังไม่สามารถขยายได้โดยไม่มีที่สิ้นสุด ทั้ง ๆที่ปริมาณสินค้ามาจากทั่วโลก ที่ประมาณการไว้จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสิ่งที่ท้าทายอีกประการ คือพื้นที่เรามีจำกัดแต่จะทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด  โดยเฉพาะผลกระทบต่อชุมชนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ต้องควบคลุมให้ได้  ปัญหาผลกระทบต่อชุมชน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่ยากต่อการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง

            เนื่องจากแผนพัฒนางานดังกล่าวไม่มีการแก้ไขปรับปรุงมานานกว่า30 ปีแล้ว และในความเป็นจริงควรจะต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อต้องการข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะจากธนาคารโลก มาแนะนำชี้แนวทาง และที่สำคัญท่าเรือแหลมฉบังพร้อมรับเป็นเจ้าของพื้นที่ เพื่อดำเนินการต่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของการเป็นท่าเรือรูปแบบ World Class มาตรฐานโลกในการให้บริการด้านโลเจสติกส์อย่างดีเยี่ยมและเป็นท่าเรือที่ยั่งยืน

            ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์  กล่าวต่อไปว่า การสัมมนาครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้น ในการสรุปประเด็นปัญหา ซึ่งจะเป็นแนวทางในการเปลี่ยนแนวความคิดในการพัฒนาท่าเรือโดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่ข้างหลังท่า เพราะเป็นจุดที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและผู้ที่อยู่รอบๆท่าเรือมากที่สุด  ซึ่งหลังคงต้องมาดูหรือวางแผนกันว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไรกับชุมชนที่ได้รับผลกระทบต่อไป

            สำหรับเรื่องเร่งด่วน คือปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น การร้องเรียนปัญหาความแออัด ที่จะต้องรีบดำเนินการจัดการ และต้องควบคู่การมองปัญหาในระยะยาวที่ต้องการให้ท่าเรือไปในทิศทางไหน และในระยะสั้น ที่ต้องดำเนินการ โดยปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด เช่น กรณีรถติด ซึ่งไม่ใช่ปัญหาแต่เป็นอาการที่เกิดมาจากสาเหตุอะไร  โดยจะมาสรุปว่าเกิดจากพื้นที่ในการรองรับมีไม่เพียงพอ ซึ่งอาจไม่ใช่คำตอบที่แท้จริง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน แต่อย่างไรก็ตามจะต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการให้แก้ไขปัญหารถติดภายในระยะเวลา 3 เดือน คาดว่าเราจะสามารถดำเนินการได้เสร็จก่อนแน่นอน

            ด้านนายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข  ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวถึง วิสัยทัศน์และมาสเตอร์แปลนท่าเรือแหลมฉบัง เป็นนโยบายของคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะ ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์  เป็นผู้ริเริ่มเชิญชวนธนาคารโลก (World  Bank ) มาจัดทำแผนแม่บทท่าเรือแหลมฉบัง  เนื่องจากท่าเรือแหลมฉบัง มีการวางแผนงานและกรอบ จนสร้างความเจริญเติบโตในพื้นที่ ตั้งแต่เฟส 1,เฟส 3 และล่าสุดกำลังมีเฟส 3 ขึ้นมา  ดังนั้นการบูรณาการจัดทำแผนแม่บท จากสิ่งที่ท่าเรือแหลมฉบังมีในปัจจุบันและท่าเรือที่จะมีในอนาคต   หลังจากที่ธนาคารโลกมีการศึกษาข้อมูล ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่จะเป็นประโยชน์ในการจัดทำแผนแม่บท เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

            นอกจากการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังแล้ว  การบริหารพื้นที่หลังท่า จะต้องมีการวางแผนแม่บท ซึ่งจะต้องมีการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะชุมชน เพราะการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาพื้นที่หลังท่าด้วย โดยเฉพาะพื้นที่โซน 6 จะต้องมาพิจารณาว่าจะทำกิจกรรมในพื้นที่ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน ซึ่งมีแผนงานอยู่แล้ว โดยมอบหมายให้ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบังเป็นหัวหน้าคณะทำงานร่วมกับฝ่ายแผนงาน ,ฝ่ายทรัพย์สินของการท่าเรือและชุมชน เพื่อทำแผนแม่บทให้เกิดเป็นรูปธรรมทั้งพื้นที่ท่าเรือหลังท่าเรือ เพื่อให้เติบโตควบคู่ไปกับชุมชนด้วยกัน

            ขณะที่ เรือโทยุทธนา  โมกขาว ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง  กล่าวว่า บทสรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ท่าเรือแหลมฉบัง รับและพร้อมจะรีบไปดำเนินการแก้ไข โดยในการพูดคุยกันในวันนี้ ทำให้ได้เห็นภาพของปัญหา เพราะที่ผ่านมาได้มุ่งเน้นในการพัฒนาท่าเรืออย่างเดียว และหลังจากนี้จะต้องให้ความสำคัญไปด้านหลังท่าเรือบ้าง เพื่อเป็นการสนับสนุนท่าเรือและถือเป็นแนวทางใหม่ที่อาจละเลยไปในอดีต  ซึ่งหลังจากนี้เมื่อมีแนวทางที่ชัดเจน จากกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งในอนาคตจะทำให้ภาพของท่าเรือแหลมฉบังมีความชัดเจนและจะเป็นท่าเรือท่าเรือระดับโลก  ได้อย่างแน่นอน

เด็กสิงห์………… รายงาน

Continue Reading
Advertisement
Advertisement

Copyright © 2020 ChonburipostOnline.Office 150/12 Village No.2 Surasak, Sriracha, Chonburi, 20110, Tel. 089 931 2068, Fax 038 328 438 Powered Tro BangKrea.